รายงาน การศึกษาด้วยเทคนิค Magnetic Resonance Spectroscopy (MRS) เพื่อวัดระดับของสารสื่อประสาท γ-aminobutyric acid (GABA) และ Glutamate ในบริเวณต่างๆของเนื้อสมอง ในเด็กที่มีภาวะสมาธิสั้น และ ไม่อยู่นิ่ง อายุระหว่าง 5-9 ปี จำนวน 26 ราย ที่ไม่ได้รับการรักษาด้วยยาใดๆ เปรียบเทียบกับเด็กปกติ จำนวน 24 ราย พบว่าระดับของ GABA ในเนื้อสมองส่วน Striatum มีปริมาณที่ลดลง และไม่พบความแตกต่างใดที่มีนัยสำคัญ ในส่วนอื่นของเนื้อสมอง
ในช่วงที่ผ่านมา นักวิจัยได้ให้ความสนใจกับสมดุลย์ของสารสื่อประสาทกลุ่มที่มีผลกระตุ้น (Glutamate) และยับยั้ง (GABA) การทำงานของระบบประสาท ซึ่งเปลี่ยนแปลงไป และ มีผลต่อพัฒนาการของระบบประสาทในเด็ก จนถึงขั้นมีการพัฒนายาที่มีผลในการเพิ่มระดับ GABA และยับยั้ง Glutamate เพื่อควบคุมการแสดงออกทางคลีนิกในเด็กกลุ่มนี้ อย่างไรก็ตาม สมดุลย์ของสารสื่อประสาทดังกล่าวเหล่านี้ อาจเป็นผลที่เกิดจากปัจจัยอื่นๆได้หลากห
ลาย อาทิ ภาวะการอักเสบของเซลประสาท (neuroinflammation) ภาวะพร่องโภชนาการเฉพาะอย่าง ภาวะ Oxidative Stress โดยทั้งนี้ อาจมีสาเหตุต่อเนื่องจากรูปแบบการทานอาหารเฉพาะตน ความเสี่ยงจากการรับสัมผัสสารพิษในสิ่งแวดล้อม หรือ ปัจจัยด้านพันธุกรรมเฉพาะบุคคล การใช้ยาเพื่อปรับสมดุลย์ของสารสื่อประสาท เป็นวิธีหนึ่งในการควบคุมอาการแสดงของความผิดปกติในพัฒนาการของระบบประสาท แต่ควรพิจารณาการประเมินเฉพาะบุคคล ถึงเหตุปัจจัย และ เหตุส่งเสริมที่นำมาสู่การเสียสมดุลย์ของสารสื่อประสาทเหล่านี้ด้วย
Puts NA, Ryan M, Oeltzschner G, Horska A, Edden RAE, Mahone EM. Reduced striatal GABA in unmedicated children with ADHD at 7T. Psychiatry Res Neuroimaging. 2020 Jul 30;301:111082. doi: 10.1016/j.pscychresns.2020.111082. Epub 2020 May 18. PMID: 32438277.
Priyanka Purkayastha, Aruna Malapati, Perumal Yogeeswari and Dharmarajan Sriram, “A Review on GABA/Glutamate Pathway for Therapeutic Intervention of ASD and ADHD”, Current Medicinal Chemistry (2015) 22: 1850. https://doi.org/10.2174/0929867322666150209152712
Commentaires